วันอังคารที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

นำบทความมาฝากกัน ..ประธานาธิบดีจอร์จ วอชิงตัน (George Washington)

ประธานาธิบดีจอร์จ วอชิงตัน (George Washington)


ประธานาธิบดีจอร์จ วอชิงตัน (George Washington)
ประกอบ คุปรัตน์
Pracob Cooparat
E-mail: pracob@sb4af.org

Updated: Tuesday, June 10, 2008
From Wikipedia, the free encyclopedia

ความนำ

จอร์จ วอชิงตัน (George Washington) เกิดเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1732 เสียชีวิตเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม ค.ศ. 1799 เป็นประธานาธิบดีคนแรกของประเทศสหรัฐอเมริกา ดำรงตำแหน่ง 2 สมัยในช่วงปี ค.ศ.1789-1797 เขาเป็นผู้นำทัพฝ่ายประกาศอิสรภาพในขณะนั้นที่เรียกว่า “กองทัพบกแห่งภาคพื้นทวีป (Continental Army) มีชัยเหนือประเทศสหราชอาณาจักร (Kingdom of Great Britain) ในสงครามที่เรียกว่า “สงครามปฏิวัติแห่งอเมริกา” (American Revolutionary War) ซึ่งเกิดขึ้นในช่วงปี ค.ศ. 1775–1783 ประชาชนในเขตอาณานิคมของอังกฤษได้ทำสงครามเพื่อปลดปล่อยประเทศจากการเป็นอาณานิคมของอังกฤษ

วอชิงตันได้รับเลือกให้เป็นผู้นำสูงสุดของกองทัพปฏิวัติอเมริกันในปี ค.ศ. 1775 ในปีต่อมา เขาได้นำทัพเข้าสู้รบกับอังกฤษนอกเมืองบอสตัน ในรัฐแมสสาชูเสท และพ่ายแพ้ ต่อมาในการสู้รบที่เมืองนิวยอร์ค ก็ยังแพ้ในการรบครั้งนั้น ในปีต่อมาเมื่อได้ตั้งตัวติด เขาได้ฟื้นฟูกองทัพใหม่ โดยเน้นความรักชาติ นำทหารข้ามแม่น้ำเดลาแวร์ในนิวเจอร์ซี (New Jersey) และได้ชัยชนะเหนืออังกฤษอย่างพลิกความคาดหมาย และด้วยยุทธศาสตร์นั้น ทำให้เขาสามารถจับกองทัพหลัก 2 กองทัพที่ Saratoga และที่ Yorktown ในช่วงของการทำงาน เขาต้องต่อรองกับสภาปฏิวัติในขณะนั้น (Congress) กับรัฐต่างๆที่รวมตัวกันต่อสู้กับอังกฤษ และต้องต่อรองกับฝ่ายฝรั่งเศสที่เข้าร่วมเป็นพันธมิตร (French allies) เขารวมกองทัพที่เปราะบาง อ่อนประสบการณ์ และนำชาติที่มีความอ่อนไหวและแตกต่างด้วยผลประโยชน์ ที่ทำให้การสู้รบใกล้ที่จะล้มเหลวลงหลายครั้ง ในที่สุดเมื่อกองทัพฝ่ายปฏิวัติมีชัยเหนือฝ่ายอังกฤษและทำให้สงครามสงบลงในปี ค.ศ. 1783 วอร์ชิงตันได้เกษียณจากกองทัพ และกลับสู่ไร่การเกษตรของตนเองที่ Mount Vernon.

หลังจากที่เขาได้รับคำเตือนเกี่ยวกับความอ่อนแอและอ่อนไหวของชาติที่เกิดขึ้นใหม่ ภายใต้ธรรมนูญที่เรียกว่า Articles of Confederation เขาได้รับเป็นประธานในการประชุมใหม่ที่เมืองฟิลาเดลเฟีย (Philadelphia Convention) เพื่อร่างรัฐธรรมนูญใหม่แห่งประเทศสหรัฐในปี ค.ศ. 1987 (The United States Constitution) วอร์ชิงตันได้รับเลือกอย่างเป็นเอกฉันท์ให้เป็นประธานาธิบดีคนแรกของประเทศในปี ค.ศ. 1789 ซึ่งต้องมีการกำหนดทำเนียมประเพณีทางการบริหารขึ้นในรัฐบาลใหม่ เขาพยายามที่จะสร้างประเทศใหม่ที่มีความสามารถที่จะดำรงอยู่ได้ในโลกที่เต็มไปด้วยสงครามและความขัดแย้งระหว่างประเทศอังกฤษและฝรั่งเศส เขาได้ทำสัญญาประกาศความเป็นกลางกับอังกฤษ (Proclamation of Neutrality) ในปี ค.ศ. 1793 โดยยึดหลักพื้นฐานว่าสหรัฐจะไม่เข้าร่วมในสงครามที่เกิดความขัดแย้งในต่างประเทศ

ในการสร้างความแข็งแกร่งให้กับประเทศใหม่ เขาสนับสนุนให้มีรัฐบาลกลางที่เข้มแข็ง โดยมีการจัดเก็บเงินเพื่อชำระหนี้จากสงคราม มีการจัดวางระบบจัดเก็บภาษีที่มีประสิทธิภาพ และการสร้างธนาคารกลางของชาติ (National Bank) วอร์ชิงตันหลีกเลี่ยงสงครามและเริ่มทศวรรษใหม่ของสันติภาพกับอังกฤษ ตามข้อตกลงที่เรียกว่า Jay Treaty ในปี ค.ศ.1795 เขาต้องใช้บารมีส่วนตัวที่จะทำข้อตกลงที่ได้รับการต่อต้านจากกลุ่มสนับสนุน Thomas Jefferson ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีความคิดแตกต่างออกมา และสนับสนุนประเทศให้คงลักษณะของความเป็นสาธารณรัฐประชาธิปไตยอย่างหลวมๆ ซึ่งกลุ่มนี้ต่อมาเรียกว่า Democratic Republican Party แม้เขาจะไม่ได้เข้าร่วมพรรคเน้นรัฐบาลกลาง (Federalist Party) อันเป็นส่วนที่ต้องการสร้างรัฐบาลกลางที่เข้มแข็ง วอร์ชิงตันไม่ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกในกลุ่มใด แต่ก็ให้การสนับสนุนโปรแกรมต่างๆ และเป็นผู้นำที่ให้แรงจูงใจหลักของกลุ่ม Federalist

ในการกล่าวสุนทรพจน์อำลาตำแหน่ง เขาแสดงให้เห็นความยึดมั่นในหลักของความเป็นสาธารณรัฐ (Republican virtue) และยืนหยัดความคิดที่ว่าสหรัฐไม่ควรเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับสงครามที่เป็นความขัดแย้งของต่างชาติ ซึ่งในขณะนั้นหลักๆ คือความขัดแย้งของอังกฤษกับฝรั่งเศสในยุโรปและในการแย่งชิงเป็นจ้าวอาณานิคมในโลก

ในทางปฏิบัติ วอร์ชิงตันได้เป็นสัญญลักษณ์ของประเทศสหรัฐ และเป็นนักปฏิบัติต้นแบบแห่งความเป็นสาธารณรัฐ (republicanism) ซึ่งหมายถึงการยึดมั่นในการปกครองประเทศโดยไม่มีระบบกษัตริย์ ให้ความสำคัญต่อการปกครองภายใต้การนำของตัวแทนประชาชน และทหารอยู่ภายใต้การนำของรัฐบาลพลเรือน อันเป็นแบบอย่างการปกครองของประเทศหรัฐตั้งแต่เริ่มแรกจนปัจจุบัน เมื่อเขาเสียชีวิตลงในปี ค.ศ. 1799 คำสดุดีในพิธีศพโดย Henry Lee ได้กล่าวว่า “สำหรับชาวอเมริกัน เขาคือที่หนึ่งในยามสงคราม ที่หนึ่งในการปกป้องสันติภาพ และที่หนึ่งในหัวใจเพื่อนร่วมชาติ” วอร์ชิงตันได้รับการจัดอันดับเป็นหนึ่งในประธานาธิบดีผู้ยิ่งใหญ่ตลอดการของสหรัฐอเมริกา

ชีวิตเมื่อเริ่มแรก (Early life)

วอชิงตันยื่นบันทึกแก่ฝรั่งเศสที่ค่าย Fort Le Boeuf ในปี ค.ศ. 1753

จอร์จ วอชิงตันเกิดเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1732 เป็นบุตรชายของ Augustine Washington dกับภรรยาคนที่สอง ชื่อ Mary Ball Washington ที่บ้านของตระกูลที่ Pope's Creek Estate ซึ่งในปัจจุบันใกล้กับ Colonial Beach ในเขต Westmoreland County, ในรัฐ Virginia. เขาได้รับการศึกษาที่บ้านจากพ่อและพี่ชายคนโต

ในช่วงยังเยาว์วัย วอชิงตันได้ทำงานเป็นช่างสำรวจ (Surveyor) ซึ่งเป็นความรู้ที่สำคัญที่ทำให้เขาเข้าใจอาณานิคมบ้านเกิดของเขาที่ Virginia วอชิงตันได้ดำเนินชีวิตเป็นเจ้าของไร่ และในปี ค.ศ. 1748 เขาได้รับเชิญให้ช่วยงานสำรวจของ Baron Fairfax ในบริเวณผืนดินตะวันตกของ Blue Ridge ในปี ค.ศ. 1749 เขาได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐเป็นครั้งแรก เป็นนักสำรวจในเขต Culpeper County และด้วยการสนับสนุนของพี่ชายต่างมารดาชื่อ Lawrence Washington เขามีความสนใจในบริษัท Ohio Company ซึ่งสำรวจแผ่นดินไปทางตะวันตก ในปี ค.ศ. 1751 เขาและพี่ชายต่างมารดา ได้เดินทางไป Barbados และได้พักอยู่ที่บ้าน Bush Hill House โดยหวังเพื่อรักษาวรรณโรคของพี่ชาย และนี่เป็นครั้งแรกที่เขาได้เดินทางไปนอกเขตที่เป็นประเทศสหรัฐในปัจจุบัน หลังจาก Lawrence ได้เสียชีวิตในปี ค.ศ. 1752 เขาได้รับมรดกบางส่วน และได้รับงานสืบต่อจากพี่ชายในอาณานิคมนั้น

ในปี ค.ศ. 1752 วอชิงตันได้รับแต่งตั้งเป็นเป็นเสนาธิการฝ่ายธุรการ (adjutant general) ให้กับกองทหารพรานแห่งเวอร์จิเนีย (Virginia militia) ซึ่งทำให้เขาได้รับแต่งตั้งเป็นพันตรีเมื่ออายุได้เพียง 20 ปี เขามีหน้าที่ฝึกทหารพรานตามที่ได้รับมอบหมาย เมื่ออายุได้ 21 ปี ที่ Fredericksburg วอชิงตันได้เป็นหัวหน้าช่างก่อสร้าง (Master Mason) ในองค์การนั้นที่ Freemasons ซึ่งเป็นองค์การที่ทำงานกันอย่างใกล้ชิดฉันท์พี่น้องที่มีผลต่อเขาตลอดชีวิต

อนุสาวรีย์ของวอชิงตันที่โรงเรียนนายทหารแห่งสหรัฐ (United States Military Academy)

ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1753 วอชิงตันได้รับการร้องขอจากผู้ว่าการอาณานิคมแห่งเวอร์จิเนีย ชื่อ 
Robert Dinwiddie เพื่อนำทหารอังกฤษไปยื่นเงื่อนไขแก่ฝรั่งเศสในบริเวณดินแดน Ohio วอชิงตันได้ประเมินกำลังของฝรั่งเศสและความตั้งใจแล้ว จึงได้ยื่นข้อความแก่ฝรั่งเศสที่ป้อมชื่อ Fort Le Boeuf ซึ่งในปัจจุบันคือ Waterford, ในรัฐ Pennsylvania ข้อความที่ไม่ได้รับการใส่ใจ ต้องการให้ฝรั่งเศสละทิ้งถิ่นฐานและชุมชนพัฒนานั้นไปจากบริเวณ Ohio เหตุการณ์นั้นเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้สองมหาอำนาจที่มีในโลกเกิดความขัดแย้งกัน วอชิงตันได้รายงานไปย้งเบื้องสูง และได้มีการเผยแพร่และอ่านกันไปทั้งสองฟากมหาสมุทรแอตแลนติก

สงครามฝรั่งเศส และอินเดียน French and Indian War (Seven Years War)

ภาพแรกๆของวอชิงตัน วาดโดย Charles Willson Peale เมื่อปี ค.ศ. 1772 เป็นเครื่องแบบของเขาในฐานะนายพันแห่งกรมทหารแห่งอาณานิคมเวอร์จิเนีย

ในปีค.ศ. 1754 Dinwiddie ได้ให้วอชิงตัน ซึ่งได้รับตำแหน่งเป็น lieutenant colonel ให้นำกำลังไปยังป้อม Fort Duquesne เพื่อขับไล่ฝรั่งเศสออกไป ด้วยพันธมิตรที่เป็นชาวอินเดียนแดงท้องถิ่น นำโดย Tanacharison วอชิงตันได้ทำลายทหารสอดแนมของฝรั่งเศสจำนวน 30 นาย ที่นำโดย Joseph Coulon de Jumonville ต่อมาวอชิงตันได้ถูกล้อมด้วยกำลังทหารที่ใหญ่กว่าและอยู่ในที่ตั้งที่ดีกว่าของฝรั่งเศสที่ร่วมกับกำลังจากอินเดียนแดง ทำให้วอชิงตันต้องยอมแพ้ในการสู้รบและมีเงื่อนไขให้เขายอมรับว่าได้สังหารกองสอบแนมและหัวหน้าในสงครามที่ Battle of Jumonville Glen วอชิงตันได้รับการปล่อยตัวจากฝรั่งเศส และได้กลับสู่เวอร์จิเนีย โดยยอมลาออกมากกว่าที่จะถูกลดขั้น

ในปี ค.ศ. 1755 วอชิงตันได้เป็นผู้ช่วยให้กับนายพลของอังกฤษ ชื่อ Edward Braddock ในสงครามที่โชคไม่ดีนัก ในการเดินทัพชื่อ Monongahelaexpedition ซึ่งเป็นความพยายามที่จะยึดบริเวณ Ohio กลับคืนจากฝรั่งเศส ในขณะที่นายพล Braddock ถูกสังหาร แต่วอชิงตันรอดมาได้อย่างเป็นวีรบุรุษแห่ง Monongahela. ในขณะที่บทบาทของวอชิงตันในการรบนั้นเป็นที่ถกเถียงกัน นักอัตตชีวประวัติ ชื่อ Joseph Ellis ได้เขียนว่าบทบาทของวอชิงตันระหว่างนั้นคือ ต้องขี่ม้ากลับไปกลับมา เพื่อการนำกำลังส่วนที่เหลือเพียงไม่มากนั้น เพื่อนำทหารรอดกลับมาได้ และด้วยการกระทำของเขานี้ จึงได้รับงานที่ยากยิ่งขึ้นในการคุมกำลังในบริเวณภูเขา และได้รับบำเหน็จเลื่อนขั้นเป็นพันเอก (Colonel) และเป็นผู้บัญชาการทหารในเวอร์จิเนีย

ในปี ค.ศ. 1758 วอชิงตันได้รับยศเป็นนายพลจัตวา (brigadier general) ในการเดินทัพไปรบที่ชื่อว่า Forbes expedition ในครั้งนั้นทำให้ฝรั่งเศสต้องถอนทหารออกจาก Fort Duquesne และฝ่ายอังกฤษได้ตั้งถิ่นฐานที่ Pittsburgh ในระยะเวลาต่อมา วอชิงตันได้ลาออกจากการรับราชการทหารและใช้เวลาอีก 14 ปีต่อมาเป็นเจ้าของไร่และนักการเมือง


ระหว่างสงครามBetween the wars

ภาพด้วยระบบแม่พิมพ์ mezzotint ของ Martha Dandridge Custis, โดยอาศัยภาพที่วาดโดย John Wollaston ในปี ค.ศ. 1757

จอร์จอ วอชิงตันได้รับการแนะนำให้รู้จักกับ 
Martha Dandridge Custis ซึ่งเป็นแม่หม้ายที่อาศัยอยู่ในไร่ชื่อ White House Plantation บนฝั่งแม่น้ำ Pamunkey River ในเขต New Kent County, ในรัฐ Virginia ทั้งนี้โดยการแนะนำโดยเพื่อนของมาร์ธา (Martha) ในขณะที่จอร์จได้พักรบจากสงครามฝรั่งเศสและอินเดียน เขาได้ไปเยี่ยมบ้านของ Martha เพียงสองครั้ง ก่อนที่จะขอแต่งงานหลังจากพบกันเพียง 2 สัปดาห์ จอร์จ และมาร์ธาอายุได้ 27 ปีในวันที่เขาแต่งงาน คือวันที่ 6 มกราคม ค.ศ. 1759 ที่บ้านของเธอที่เรียกว่า White House ซึ่งชื่อบ้านนี้ได้กลายเป็นชื่อคฤหาสถ์ของประธานาธิบดีต่อไปในอนาคต

คู่บ่าวสาวได้ย้ายไปยังบ้านที่ Mount Vernon ที่ซึ่งเขาได้ใช้ชีวิตต่อมาอย่างเป็นเจ้าของไร่และนักการเมือง ทั้งสองมีชีวิตการแต่งงานที่ดี มีบุตรสองคนจากการแต่งงานครั้งก่อนของมาร์ธา ชื่อ Daniel Parke CustisJohn Parke Custisและ มาร์ธาได้เรียกบุตรทั้งสองว่า "Jackie" และ "Patsy”
จอร์จและมาร์ธาไม่ได้มีบุตรด้วยกันเลย ซึ่งอาจเป็นเพราะเป็นหมัน เขาเคยป่วยด้วยโรคฝีดาษ (
smallpox ) และได้รับเชื้อวรรณโรค (tuberculosis) ที่ทำให้เขาเป็นหมัน ต่อมาวอชิงตันได้รับเลี้ยงหลานยายของภรรยา ชื่อ Eleanor Parke Custis ("Nelly") และ George Washington Parke Custis ("Washy") หลังจากที่พ่อของทั้งสองได้เสียชีวิต

การที่วอชิงตันได้แต่งงานกับแม่หม้ายที่มีฐานะ ทำใหเขามีสมบัติและสถานะทางสังคมที่สูงยิ่งขึ้น เขาได้ที่ดินหนึ่งในสามของ 18,000 เอเคอร์ (73 ตารางกิโลเมตร) จากที่ดินตระกูล Custis จากการแต่งงาน และได้รับส่วนที่เหลือในนามของลูกๆของมาร์ธา เขาได้ซื้อที่ดินเพิ่มเติมขึ้นโดยส่วนตัวในที่ซึ่งปัจจุบันคือ West Virginia อันเป็นผลจากการรับใช้ในการรบในสงครามกับฝรั่งเศสและอินเดียน ในปี ค.ศ. 1775 เขาได้มีที่ดินรวม 6500 เอเคอร์ (26 ตารางกิโลเมตร) และมีทาสกว่า 100 คน เป็นวีรบุรุษจากสมรภูมิ และเป็นเจ้าของที่ดินรายใหญ่ ได้รับเลือกเป็นฝ่ายนิติบัญญัติของสภาในขณะนั้นที่เรียกว่า Virginia provincial legislature ชื่อ the House of Burgesses ในปี ค.ศ. 1758 เขาได้รับใช้ในฐานะผู้พิพากษาแห่ง Fairfax, และทำงานศาลที่ Alexandria, Virginia ระหว่างปี ค.ศ. 1760 และ 1774

วอชิงตันได้มีบทบาทนำให้แก่ชาวอาณานิคมในการต่อต้านอังกฤษ ใน ปี ค.ศ. 1769 เมื่อเขาได้ยื่นข้อเสนอที่ร่างโดยเพื่อนชื่อ George Mason ที่เรียกร้องให้คว่ำบาตรสินค้าจากอังกฤษ จนกว่าจะมีการยกเลิกกฎหมาย Townshend Acts


รัฐสภาของอังกฤษได้ยกเลิกกฎหมายดังกล่าวในปี ค.ศ. 1770 วอชิงตันได้เข้าร่วมช่วยเหลือเพื่อนๆ โดยในวันที่ 21 กันยายน ค.ศ. 1771 เขาได้เขียนจดหมายถึง Neil Jameson ในนามของ Jonathan Plowman Jr., ซึ่งเป็นพ่อค้าจากเมือง Baltimore ซึ่งเรือของเขาได้ถูกยึดจากการส่งสินค้าออกที่ไม่ได้รับการอนุญาต โดยกองเรือ Boston Frigate และขอร้องให้ช่วยกู้เรือของ Plowman

วอชิงตันเห็นว่าข้อความในกฎหมาย Intolerable Acts ในปี ค.ศ. 1774 เป็นการรุกล้ำสิทธิและประโยชน์ของชาวอาณานิคม ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1774 เขาได้นั่งเป็นประธานในการพบปะที่ซึ่งได้มีการแก้ปัญหาใน Fairfax จนเกิดข้อตกลง Fairfax Resolves ซึ่งทำให้เกิดหลายๆอย่าง รวมถึงการเรียกประชุมสภาแห่งภาคพื้นทวีป (Continental Congress) ในเดือนสิงหาคม เขาได้เข้าร่วมในการประชุมครั้งแรกที่เวอร์จิเนีย (First Virginia Convention) และได้รับเลือกจากที่ประชุมให้เป็นตัวแทนไปประชุมสภาภาคพื้นทวีป (First Continental Congress) อ้นเป็นเหตุการณ์ที่นำไปสู่การประกาศอิสรภาพจากอังกฤษในระยะเวลาต่อมา


การปฏิวัติของอเมริกันAmerican Revolution

ภาพวาดของจอร์จ วอชิงตัน (George Washington) ในเครื่องแบบนายทหาร วาดโดย 
Rembrandt Peale

หลังจากได้เกิดการประทะและต่อสู้กันกับอังกฤฤษในเดือนเมษายน ค.ศ. 1775 วอชิงตันได้เข้าร่วมในการประชุมสภาแห่งภาคพื้นทวีปเป็นครั้งที่สอง และในครั้งนี้ เขาได้ส่งสัญญาณด้วยการแต่งเครื่องแบบทหาร ว่าเขาพร้อมแล้วที่จะรบ วอชิงตันมีทั้งศักดิ์ศรี ประสบการณ์ทางการทหาร มีบุคลิกภาพที่งามสง่า มีประวัติการเป็นผู้รักชาติ และเขาได้รับการสนับสนุนจากรัฐภาคใต้ในขณะนั้น โดยเฉพาะจากเวอร์จิเนีย ถึงแม้เขาจะไม่ได้เรียกร้องที่จะมีตำแหน่งหน้าที่เป็นผู้นำทัพ และกล่าวด้วยว่าเขาอาจไม่เหมาะสมกับตำแหน่ง แต่ในที่ประชุมก็ไม่มีใครที่จะแข่งขันด้วย สภาฯ ได้ก่อตั้งกองทัพบกที่เรียกว่า 
Continental Army ในวันที่ 14 มิถุนายน ค.ศ. 1775 ทั้งนี้โดยการเสนอชื่อโดย John Adamsแห่งMassachusetts วอชิงตันได้รับแต่งตั้งเป็นพลตรี (Major General) ได้รับเลือกจากสภาฯ ให้เป็นผู้นำทัพสูงสุด (Commander-in-chief) ในการรบ

วอชิงตันรับหน้าที่นำทัพให้กับกองทัพบกฝ่ายอาณานิคมที่เรียกว่า ContinentalArmy ในสนามรบที่เมือง Cambridge ในรัฐ Massachusetts ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1775 ในระหว่างการเข้ายึดบอสตัน (siege of Boston) ด้วยความตระหนักว่ากองทัพขาดดินปืน วอชิงตันได้ขอการสนับสนุนเพิ่ม บางส่วนได้จากการยึดอาวุธของอังกฤษ รวมถึงบางส่วนใน Caribbean ได้มีความพยายามที่จะผลิตดินปืนกันเอง แต่ก็ไม่เพียงพอในการรบ (ซึ่งต้องการใช้ประมาณ 2.5 ล้านปอนด์) ซึ่งสามารถได้รับอย่างเพียงพอ ก็เมื่อสงครามกำลังจะจบแล้ว และโดยส่วนใหญ่ได้มาจากฝรั่งเศส วอชิงตันได้จัดกำลังกองทัพบกใหม่ หลังจากเสียเวลาไปนาน ก็สามารถผลักดันให้อังกฤษถอนทหารไปได้ด้วยการระดมยิงที่ Dorchester Heights ทหารอังกฤษถอยออกจากเมืองบอสตัน และวอชิงตันได้เคลื่อนกองทัพบกสู่เมืองนิวยอร์ค

แม้รัฐสภาฯจะมีทัศนะต่อนักรบผู้รักชาติที่ไม่มั่นใจนัก แต่หนังสือพิมพ์อังกฤษได้กล่าวสรรเสริญวอชิงตันในความเป็นคนมีความเป็นแม่ทัพ ยิ่งกว่านั้นในรัฐสภาของอังกฤษยังได้พบว่านายพลชาวอเมริกันผู้นี้มีความกล้าหาญ อดทน ตั้งใจ และเอาใจใส่ในกำลังพลของตนเอง และเป็นแบบอย่างให้อังกฤษควรจะมีแม่ทัพที่มีคุณสมบัติในการรบเช่นนั้นบ้าง ในระหว่างนั้นวอชิงตันปฏิเสธที่จะเข้าเกี่ยวข้องกับการเมือง ไม่เข้ายุ่งเกี่ยวและอยู่เหนือการเมืองที่มีฝักฝ่าย


รูปสลักครึ่งตัวของวอชิงตัน (Washington) โดย Jean-Antoine Houdon โดยวิธีการหล่อจากแม่แบบตัวจริง ในปี ค.ศ.1786.

ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1776 นายพล 
William Howe ของอังกฤษได้รุกทางเรือและทางบกขนานใหญ่ โดยหวังที่จะบุกยึดเมืองนิวยอร์ค และปิดเจรจาสงบศึก กองทัพฝ่ายภาคพื้นทวีปภายใต้การนำของวอชิงตันได้เผชิญหน้ากับข้าศึกเป็นครั้งแรกหลังจากที่ได้ประกาศอิสรภาพ โดยทำสงครามที่ Long Island (Battle of Long Island) อ้นเป็นการรบที่ใหญ่ที่สุด การรบในครั้งนี้ได้ทำให้วอชิงตันต้องหนีออกจากนิวยอร์ค และข้ามไป New Jersey ปล่อยให้อนาคตของกองทัพภาคพื้นทวีปมืดมัว ในคืนวันที่ 25 ธันวาคม ค.ศ. 1776 วอชิงตันได้ตีกลับ นำกำลังทัพอเมริกันข้ามแม่น้ำ the Delaware River และสามารถจับกุมกำลังคนฝ่ายอังกฤษได้เกือบ 1000 คน ใน Trenton, ในรัฐ New Jersey.
วอชิงตันรบแพ้ที่สงคราม Battle of Brandywine ในวันที่ 11 กันยายน ค.ศ. 1777 และในวันที่ 26 กองทัพของ Howe ได้แสดงให้เห็นความสามารถที่เหนือกว่าฝ่ายของวอชิงตัน และได้เดินเข้าสู่เมืองฟิลาเดลเฟียอย่างไม่ได้รับการต่อต้าน การพ่ายแพ้ของวอชิงตันทำให้นักการเมืองในสภาหลายคนไม่พอใจ และวางแผนที่จะปลดวอชิงตัน แต่ความพยายามดังกล่าวไม่ประสบความสำเร็จ เพราะคนที่หนุนหลังวอชิงตันได้รณรงค์สนับสนุนเขา

กองทัพของวอชิงตันได้ตั้งค่ายที่ Valley Forge ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1777 ที่ซึ่งได้อยู่ที่นั่นนาน 6 เดือน ในช่วงฤดูหนาวนั้นทหารจำนวน 2,500 คนจากจำนนวน 10,000 คนได้เสียชีวิตจากโรคและความหนาวเหน็บ ในช่วงฤดูใบไม้ผลิ กองทัพได้ฟื้นตัวขึ้นที่ Valley Forge ซึ่งเกิดจากการฝึกและการให้คำแนะนำทางการทหาร ของ Baron von Steuben ผู้ชำนาญการชาว Prussian ที่อยู่ในคณะทำงาน ทหารอังกฤษได้ถอนออกจากเมือง Philadelphia ในปี ค.ศ. 1778 และกลับสู่เมืองนิวยอร์ค ในขณะนั้นวอชิงตันได้อยู่กับกองทัพของเขาในด้านนอกของนิวยอร์ค และในฤดูร้อนของปี ค.ศ. 1779 ด้วยคำสั่งของวอชิงตัน General John Sullivan, ได้ตอบโต้ต่อการที่ Iroquois และ Tory ที่ได้โจมตีชาวอาณานิคมอเมริกันในช่วงต้นของสงคราม เป็นการรบชนะที่เด็ดขาด ที่ได้ทำลายอย่างน้อย 40 หมู่บ้าน Iroquois ทั่วทั้งตอนเหนือของรัฐนิวยอร์ค เขาได้โจมตีครั้งสำคัญในปี ค.ศ. 1781 หลังจากชัยชนะของกองทัพเรือฝรั่งเศส ได้ทำให้กำลังทัพของอังกฤษต้องถูกกักอยู่ที่เวอร์จิเนีย ซึ่งนำไปสู่การยอมแพ้ที่เมืองยอร์คเทาน์ (surrender at Yorktown) ในวันที่ 17 ตุลาคม ค.ศ. 1781 และทำให้สงครามได้จบลง แม้จะเป็นชัยชนะในสงครามในชีวิตของเขา วอชิงตันได้ชนะสงคราม 3 ครั้งในการสู้รบทั้งหมด 9 ครั้ง

ชัยชนะของเขาที่ได้มานั้น ด้วยความสามารถในการบริหารจัดการรบ การจัดทีมงานเสนาธิการและกลังรบ ความอดทน และความต้งใจที่จะต่อสู้ของฝ่ายผู้รักชาติ ที่แม้จะไม่มีประสบการณ์รบ แต้ด้วยความพยายามและความกล้าหาญ เสียสละ จึงทำให้กองกำลังอาสาสมัครที่เริ่มจากคนหนุ่มจำนวนมากที่ไม่มีประสบการณ์ จนแข็งแกร่งขึ้น และสามารถเปลี่ยนสถานการณ์ไปสู่ชัยชนะได้

ภาพวาดโดย John Trumbull ให้เห็นวอชิงตัน (Washington) กำลังลาออกจากหน้าที่ผู้บัญชาการทหารสูงสุด (commander-in-chief)

ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1783 วอชิงตันได้ใช้อิทธิพลและบารมีของเขาในการสลายกลุ่มนายทหารบกที่ขู่จะเผชิญหน้ากับสภาฯ เพื่อเรียกร้องเงินเดือนที่ยังค้างจ่าย เนื่องจากเมื่อมีสนธิสัญญาสงบศึกกับอังกฤษ (
Treaty of Paris) ที่ยอมรับในความเป็นเอกราชของประเทศสหรัฐอเมริกา วอชิงตันจึงได้สลายทัพบกในความรับผิดชอบของเขา และในวันที่ 2 พฤศจิกายน เขาได้กล่าวอำลาต่อทหารของเขา
ในวันที่ 25 พฤศจิกายน อังกฤษได้อพยพออจากเมืองนิวยอร์ค และผู้ว่าการรัฐได้เขาครองแทน และที่ Fraunces Tavern ในวันที่ 4 ธันวาคม ค.ศ. 1983 เขาได้กล่าวอำลานายทหารของเขา และในวันที่ 23 ธันวาคม ค.ศ. 1783 เขาได้ลาออกจากการเป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุด (commander-in-chief) และเป็นต้นแบบของผู้นำของสาธารณรัฐที่ปฏิเสธการใช้อำนาจ ในระหว่างนั้นประเทศสหรัฐได้มีการปกครองโดย Articles of Confederation ซึ่งยังไมมีประธานาธิบดีและรัฐบาลอย่างที่มีในปัจจุบัน
เมื่อได้ลาออกจากกองทัพ เขาได้เกษียณกลับไปอยู่ที่ Mount Vernon ในช่วงสั้นๆ เขาได้เดินทางสำรวจดินแดนตะวันตกในปี ค.ศ. 1784 ก่อนที่จะได้รับการเลือกตั้งด้วยเสียงเอกฉันท์ให้เป็นประธานที่ประชุม เขาได้มีส่วนอภิปรายไม่มากนัก แม้เขาจะออกเสียงไม่เห็นด้วยกับกฎหมายในหลายมาตรา แต่ด้วยเกียรติคุณของเขา สัมพันธภาพของเขากับบรรดาตัวแทนในสภาฯ เป็นไปด้วยดีฉันท์มิตร บรรดาตัวแทนในสภาได้ออกแบบตำแหน่งประธานาธิบดีโดยมองเขาไว้ในใจ และได้ปล่อยให้เขาได้กำหนดตำแหน่งหน้าที่เมื่อได้เข้ารับตำแหน่ง ในที่ประชุม เขาได้สนับสนุนและทำให้ตัวแทนจากรัฐเวอร์จิเนียได้ออกเสียงรับร่างรัฐธรรมนูญที่ได้มีการยอมรับโดยทั้ง 13 รัฐ

เป็นประธานาธิบดีPresidency: 1789–1797

คณะรัฐมนตรีของวอชิงตันThe Washington Cabinet
ตำแหน่ง (OFFICEX
ชื่อ (NAME)
วาระ (TERM)

ประธานาธิบดี
President
George Washington
1789 – 1797
รองประธานาธิบดี
Vice President
John Adams
1789 – 1797

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
Secretary of State
Thomas Jefferson
1790 – 1793Edmund Randolph
1794 – 1795Timothy Pickering
1795 – 1797

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
Secretary of Treasury
Alexander Hamilton
1789 – 1795Oliver Wolcott, Jr.
1795 – 1797

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการสงคราม (กลาโหม)
Secretary of War
Henry Knox
1789 – 1794Timothy Pickering
1795 – 1795James McHenry
1796 – 1797

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
Attorney General
Edmund Randolph
1789 – 1794William Bradford
1794 – 1795Charles Lee
1795 – 1797

- ตำแหน่ง Secretary เทียบเท่ากับรัฐมนตรี (Minister) ของในหลายประเทศ และคำว่ากระทรวงในรัฐบาลกลางของประเทศสหรัฐอเมริกา จะเรียกว่า Departments ในขณะที่หลายประเทศ เช่นอังกฤษและไทย จะเรียกว่า Ministry


- ตำแหน่ง Secretary of War เป็นผู้ดูแลกระทรวง War Department ในช่วงแรกเป็นความรับผิดชอบต่อกองทัพทั้งหมด แต่ในปี ค.ศ. 1798 ได้มีตำแหน่ง Secretary of the Navy เพื่อดูแลงานด้านกองทัพเรือ งาน Secretary of War จึงเป็นการดูแลเฉพาะกิจการกองทัพบก แต่ในช่วงปี ค.ศ. 1947 หลังสงครามโลกครั้งที่สอง ได้มีการวมงานของสองกระทรวงเข้าด้วยกัน งานกองทัพบก และกองทัพเรือจึงเป็นในระดับที่ไม่มีเก้าอี้อยู่ในคณะรัฐมนตรีแต่อยู่ใต้ Secretary of Defense ซึ่งดูแลงานกระทรวงกลาโหม (Secretary of Defense)

ภาพของวอชิงตันโดย Gilbert Stuart, วาดในปี ค.ศ. 1795

ระบบการเลือกตั้งประธานาธิบดีของสหรัฐในยุคนั้นเป็นการเลือกผ่านตัวแทน (
Electoral College) โดยที่ประชุมได้เลือกวอชิงตันเป็นประธานาธิบดีโดยมติเอกฉันท์ในปี ค.ศ. 1789 และอีกสมัยหนึ่งในปี ค.ศ. 1792 เขาเป็นประธานาธิบดีคนเดียวที่ได้รับคะแนนเสียงร้อยละร้อยในการเลือกผ่านระบบตัวแทน John Adams ได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งรองประธานาธิบดี วอชิงตันได้สาบาลตนเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดี (oath of office) คนแรกของสหรัฐอเมริกา ในวันที่ 30 เมษายน ค.ศ. 1789 ที่ Federal Hall ในเมืองนิวยอร์ค แม้ในเบื้องแรกนั้นเขาไม่ได้มีความประสงค็จะรับตำแหน่ง

ในการประชุมของสภาครั้งแรกของสหรัฐอเมริกา ได้ออกเสียงอนุมัติเงินเดือนของวอชิงตันที่ปีละ 25,000 เหรียญ ซึ่งจัดว่าเป็นเงินมากในขณะนั้น แต่เนื่องด้วยวอชิงตันได้เป็นผู้มีฐานะอยู่แล้ว จึงปฏิเสธที่จะรับตำแหน่ง เพราะเขาเห็นการเข้ารับตำแหน่งเป็นการทำงานรับใช้ประเทศอย่างไม่เห็นแก่ตน แต่ด้วยการหว่านล้อมของสภาฯ เขาจึงได้ยอมรับเงินเดือนนั้น ซึ่งเรื่องนี้ได้เป็นหัวเลี้ยวหัวต่อ เพราะเขาและบรรดา “บิดาผู้ก่อตั้งประเทศ” (Founding fathers) ต้องการให้ตำแหน่งประธานาธิบดีในอนาคตสามารถมาจากคนที่กว้างขวาง โดยไม่ถูกจำกัดด้วยสถานะทางเศรษฐกิจของผู้สมัครเข้ารับหน้าที่
วอชิงตันได้เข้ารับหน้าที่อย่างระมัดระวัง เขาต้องการให้มั่นใจได้ว่าระบบของสาธารณรัฐจะไม่ทำให้ตำแหน่งประธานาธิบดีเป็นเหมือนกษัตริย์แห่งราชสำนักในยุโรป เขาชอบที่จะให้คนเรียกเขาว่า “ท่านประธานาธิบดี” (Mr. President) มากกว่าที่จะเรียกเป็นอื่นๆในลักษณะที่เรียกกษัตริย์

วอชิงตันได้พิสูจน์ว่าเขาเป็นนักบริหารที่มีความสามารถ เป็นคนรู้จักกระจายอำนาจและสามารถตัดสินใจได้อย่างชาญฉลาด เขาจะประชุมคณะรัฐมนตรีเป็นประจำ ก่อนที่จะมีการตัดสินใจในท้ายสุด เขาเป็นคนทำงานอย่างมีกิจวัตร เป็นระบบ มีระเบียบ มีพลัง และถามหาความคิดเห็นจากคนอื่นๆในการตัดสินใจ โดยมีการมองที่เป้าหมายปลายทาง และคิดถึงการกระทำที่จะต้องตามมา

หลังจากการรับตำแหน่งในวาระแรก เขาลังเลที่จะรับตำแหน่งต่อในวาระที่สอง และเขาปฏิเสธที่จะดำรงตำแหน่งต่อในวาระที่สาม และนั่นจึงเป็นประเพณีสืบต่อมาที่จะไม่มีใครรับตำแหน่งประธานาธิบดีเกิน 2 สมัย จนกระทั่งในการแก้ไขรัฐธรรมนูญในครั้งที่ 22 ช่วงหลังสงครามโลกรั้งที่สองแล้ว จึงได้มีการตราเป็นกฎหมายรัฐธรรมนูญที่ประธานาธิบดีจะดำรงตำแหน่งติดต่อกันได้ไมเกิน 2 สมัยกิจกรรมภายในประเทศDomestic issues

การรับเข้าเป็นรัฐใหม่

รัฐที่เข้าร่วมในประเทศสหรับ(States admitted to Union)
ลำดับที่
North Carolina – วันที่ 21 พฤศจิกายน ค.ศ. 1789
12
Rhode Island – วันที่ 29 พฤษภาคม ค.ศ. 1790
13
Vermont – วันที่ 4 พฤษภาคม ค.ศ. 1791
14
Kentucky – วันที่ 1 มิถุนายน ค.ศ. 1792
15
Tennessee – วันที่ 1 มิถุนายน ค.ศ. 1796
16


วอชิงตันไม่ได้เป็นสมาชิกของพรรคการเมืองใดๆ และหวังว่าจะไม่มีการจัดตั้งพรรคการเมืองขึ้น ด้วยเกรงจะทำให้เกิดความขัดแย้งที่จะมีผลกระทบต่อรัฐบาล แต่อย่างไรก็ตาม คณะรัฐมนตรีของเขาเองได้แบ่งออกเป็นสองฝ่าย โดยกลุ่มรัฐมตรีว่าการกระทรวงการคลัง (Secretary of Treasury) คือ Alexander Hamilton ต้องการให้รัฐบาลกลางมีแผนที่หนักแน่น สามารถมีเครดิตของชาติ และทำให้ประเทศมีอำนาจทางการเงิน กลุ่มนี้ได้ตั้งเป็นพรรคที่เรียกว่า Federalist Party ในอีกด้านหนึ่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ คือ Thomas Jefferson ได้ก่อตั้ง “พรรคสาธารณรัฐ” (Jeffersonian Republicans) ซึ่งต่อต้านแนวคิดของ Hamilton และได้คัดค้านการเสนอวาระต่างๆในหลายๆกรณี แต่วอชิงตันในฐานะเป็นนักปฏิบัติค่อนข้างเอนเอียงไปทาง Hamilton มากกว่า Jefferson

ในปี ค.ศ. 1791 สภาฯได้กำหนดให้มีภาษีจัดเก็บจากเหล้า (excise on distilled spirits) ซึ่งได้มีการประท้วงคนจากเขตชายแดน โดยเฉพาะจาก Pensylvania ในปี ค.ศ. 1794 หลังจากที่วอชิงต้นได้ออกคำสั่ง และได้มีการนำผู้ประท้วงขึ้นศาล การประท้วงได้ขยายวงรุนแรงที่เรียกว่า “กบฎเหล้า” (Whiskey Rebellion) รัฐบาลกลางได้มีทหารไม่มากพอ จึงได้ใช้กฎหมาย Militia Act of 1792 เรียกทหารอาสาสมัคร (Militias) จากรัฐ Pennsylvania, Virginia, และรัฐอื่นๆอีกหลายรัฐ บรรดาผู้ว่าการรัฐได้ส่งทหารตามคำสั่งของวอชิงตัน และได้เดินทัพไปยังบริเวณที่เกิดการกบฎ โดยประธานาธิบดีได้นำทัพไปด้วย ซึ่งเป็นเพียงไม่กี่ครั้งในประวัติศาสตร์อเมริกันที่ผู้นำประเทศได้นำทัพในลักษณะดังกล่าว และในการนี้นับเป็นครั้งแรกที่รัฐธรรมนูญใหม่ได้ให้รัฐบาลกลางได้ใช้มาตรการทางทหารเหนือรัฐและประชาชน

การต่างประเทศForeign affairs

อนุสาวรีย์ของ George Washington ที่ตั้งอยู่ ณ Place d'Iéna, กรุง Parisประเทศฝรั่งเศส (France)

ในปี ค.ศ. 1793 รัฐบาลปฏิวัติของฝรั่งเศสได้ส่งฑูต 
Edmond-Charles Genêtซึ่งได้เรียกว่า "Citizen Genêt," มายังสหรัฐอเมริกา เพื่อยื่นจดหมาย letters of marque and reprisal เพื่อให้เรือของสหรัฐสามารถจับกุมและควบคุมเรือของอังกฤษ Genet พยายามสร้างกระแสประชาชนในเมืองใหญ่ๆในสหรัฐเพื่อให้เข้าร่วมกับฝรั่งเศส ที่ได้เป็นพันธมิตรกับสหรัฐ และเป็นสังคมสาธารณรัฐประชาธิปไตยร่วมกัน วอชิงตันเห็นว่การกระทำดังกล่าวเป็นการเข้าแทรกแซงกิจการภายในของสหรัฐ และได้ยื่นหนังสือให้รัฐบาลฝรั่งเศสได้เรียก Genet กลับ และไม่ยอมรับการทำงานของ Genet

จดหมาย 
letters of marque and reprisal เป็นการให้สามารถเตือน และให้อำนาจแก่ผู้ที่ได้รับมอบหมายจากรัฐบาลฝรั่งเศสที่จะตรวจค้น ยึด หรือทำลายทรัพย์สินหรือสิ่งที่เป็นเจ้าของโดยต่างชาติที่ได้ทำตัวเป็นปฏิปักษ์ต่อรัฐบาลของฝรั่งเศส

วอชิงตันไม่ต้องการเข้าร่วมในสงครามที่เป็นปฏิปักษ์กันระหว่างฝรั่งเศสกับอังกฤษ

เพื่อเป็นการรักษาความสัมพันธ์ทางการค้าปกติกับอังกฤษ จึงได้มีการถอนทหารออกจากป้อมด้านตะวันตก และจ่ายหนี้สงครามที่มีจากการปฏิวัติ Hamilton และวอชิงตันได้ออกแบบสัญญากับอังกฤษ คือ Jay Treaty ซึ่งเป็นการเจรจาโดย John Jay ซึ่งได้มีการลงนามเมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน ค.ศ. 1794 ฝ่าย Jefferson และผู้สนับสนุนได้มีความโน้มเอียงทางฝรั่งเศส และต่อต้านสนธิสัญญานี้ แต่วอชิงตันและ Hamilton ได้รณรงค์ในรัฐสภา และผ่านร่างของ John Jay อังกฤษได้ตกลงที่จะถอนทหารออกจากป้อมรอบๆบริเวณ Great Lakes ได้มีการปรับปรุงเขตแดนระหว่างสหรัฐกับแคนาดาให้มีความชัดเจนขึ้น ยกเลิกหนี้และการยึดสินค้าของสหรัฐอีกหลายประการ และทางอังกฤษได้เปิดดินแดนด้าน West Indies เพื่อทำการค้ากับทางสหรัฐ สิ่งสำคัญคือสหรัฐได้เลี่ยงสงครามกับอังกฤษ และได้นำความมั่งคั่งมาสู่ประเทศด้วยการคบค้ากับอังกฤษ แต่ได้สร้างความบาดหมางกับฝรั่งเศสและเป็นประเด็นทางการเมืองในระยะต่อมา

การแต่งตั้งศาลสูงSupreme Court appointments

ระบบศาล หรือการบังคับใช้กฎหมายเป็นอำนาจอีกสายหนึ่ง ที่เป็นอิสระจากฝ่ายบริหาร และฝ่ายนิติบัญญัติ แต่ประธานาธิบดีมีหน้าที่ในการแต่งตั้งศาลสูง ซึ่งได้มีการแต่งตั้งบุคคลต่อไปนี้

John Jay (Chief Justice) – 1789
William Cushing (Associate Justice) – 1789
John Rutledge (Associate Justice) – 1789
James Wilson – 1789
John Blair – 1789
James Iredell – 1790
Thomas Johnson – 1792
William Paterson – 1793
John Rutledge (Chief Justice) – 1795
William Cushing (Chief Justice, disputed) – 1796
Samuel Chase – 1796
Oliver Ellsworth (Chief Justice) – 1796

การกล่าวลาFarewell Address

รูปหล่อของวอชิงตัน โดย Giuseppe Ceracchi

คำกล่าวอำลาตำแหน่งของวอชิงตัน ที่ได้เป็นจดหมายที่ออกมาในปี ค.ศ. 1796 เป็นคำกล่าวที่มีอิทธิพลมากที่สุดในประวัติศาสตร์การเมืองตอนหนึ่ง เป็นคำกล่าวที่เขียนโดยวอชิงตันและตรวจอ่านและช่วยปรับปรุงเพิ่มเติมโดย Hamilton เป็นการให้คำแนะนำอันจำเป็นแก่ประเทศ ให้เห็นความสำคัญของการที่หลายๆรัฐได้มารวมกันเป็นประเทศ การต้องให้ความสำคัญของรัฐธรรมนูญและการต้องเคารพกฎหมาย ข้อเสียหายจากการมีระบบพรรคการเมือง และการให้ยึดในคุณค่าความเป็นระบบสาธารณรัฐ 

แต่เขาได้ปฏิเสธที่จะใส่ส่วนที่เกี่ยวกับศาสนาที่อาจสร้างความขัดแย้ง แต่ให้เน้นความสำคัญของการศึกษา และเห็นว่าศิลธรรมของชาติที่จำเป็นต้องมีหลักการแห่งศาสนา

วอชิวตันได้กล่าวเตือนอิทธิพลของต่างชาติจากยุโรป ที่จะมายุ่งเกี่ยวกับการเมืองภายในของสหรัฐ เขากล่าวเตือนการเมืองภายในที่จะไม่เอนเอียงเข้ากับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง เขาเรียกร้องให้อเมริกาเป็นอิสระจากการผูกพันกับต่างประเทศ แต่เป็นมิตรกับทุกประเทศ และเตือนไม่ให้เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับสงครามในยุโรป หรือไปเป็นพันธมิตรที่ซับซ้อนพัวพัน (Entangling alliances) คำกล่าวของเขาได้กลายเป็นค่านิยมของอเมริกันทางศาสนา และการต่างประเทศในยุคต่อๆมา

การเกษียณและถึงแก่กรรมRetirement and death

หลังจากเกษียณจากตำแหน่งประธานาธิบดีในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1797 วอชิงตันได้กลับไปยังบ้านของเขาที่ Mount Vernon ด้วยความรู้สีกโล่งอก เขาได้ให้เวลากับการทำการเกษตร ในปีนั้น เขาได้ดูแลการสร้างโรงกลั่นเหล้าขนาด 2250 ตารงฟุต (ยาว75 กว้าง 30 ฟุต) หรือประมาณ 200 ตารางเมตร ซึ่งจัดเป็นโรงเหล้าที่ใหญ่ที่สุดในสาธารณรัฐใหม่นั้น โดยมีหม้อต้มกลั่นเหล้าทองแดง 5 หม้อ มีถังหมัก 50 ถัง (Mash tubs) ทดแทนในที่ฟาร์มที่ไม่กำไรในการดำเนการ ในขณะนั้นช่วงเวลาประมาณ 2 ปี โรงกลั่นของเขาผลิตเหล้าได้ 11,000 แกลลอนที่ทำจากข้าวโพด และข้าวไร (Rye) มีมูลค่าธุรกิจ 7500 เหรียญ และยังมีการผลิตเหล้าที่ทำจากผลไม้อีกด้วย

ในวันที่ 13 กรกฎาคม ค.ศ. 1798 วอชิงตันได้รับแต่งตั้งจากประธานาธิบดี John Adams ในตำแหน่ง Lieutenant General และเป็นผู้บัญชาการกองทัพบก (Commander-in-chief) ในช่วงวันที่ 13 กรกฎาคม ค.ศ. 1789 ถึงวันที่ 14 ธันวาคม ค.ศ. 1799 เขาได้มีส่วนร่วมวางแผนกองทัพในการเตรียมการฉุกเฉิน หากต้องมีการสู้รบในภาคสนามเกิดขึ้น ซึ่งในช่วงดังกล่าวนั้น เหตุการณ์รบอย่างรุนแรงและเปิดเผยกับฝ่ายฝรั่งเศสไม่ได้เกิดขึ้น

Mount Vernon อยู่ใกล้กับ Alexandria, ในรัฐ Virginia, เป็นไร่ขนาดใหญ่ที่เรียกว่า plantation เป็นบ้านของประธานาธิบดีคนแรกของสหรัฐ (First President of the United States) คือ George Washington บ้านทำด้วยไม้ เป็นบ้านในแบบ neoclassical Georgian architectural style, ตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำ Potomac River.

ในปัจจุบัน Mount Vernon ได้ถูกจัดเป็น National Historic Landmark ในปี ค.ศ. 1960 และได้ถูกลงทะเบียนเป็นโบราณสถานแห่งชาติ (National Register of Historic Places) ปัจจุบันมีสมาคมสุภาพสตรีแห่ง Mount Vernon เป็นเจ้าของและเป็นผู้ดูแล

ในวันที่ 12 ธันวาคม ค.ศ. 1799 วอชิงตันได้ใช้เวลาหลายชั่วโมงขี่ม้า ตรวจงานในฟาร์มของเขา ในขณะที่มีหิมะ และต่อมามีฝนลูกเห็บตก และฝนน้ำแข็งตก เขานั่งรับประทานอาหารโดยไม่ได้เปลี่ยนชุดเสื้อผ้าที่เปียก ในวันต่อมา เขาตื่นขึ้นพร้อมกับเป็นหวัด มีไข้และหลอดลมอักเสบ ต่อมาได้กลายเป็นหลอดลมอักเสบ และปอดบวม วอชิงตันได้เสียชีวิตในวันที่ 14 ธันวาคม ค.ศ. 1799 ด้วยวัย 67 ปี ในขณะที่นายแพทย์ 
James Craik เป็นผู้ดูแลอาการป่วย ท่ามกลางเพื่อนสนิทหลายคน และรวมถึง Tobias Lear V ซึ่งเป็นเลขาส่วนตัวของวอชิงตัน Lear ได้บันทึกคำสุดท้ายของวอชิงตันว่า “Tis well.”

แพทย์สมัยใหม่มีความเชื่อว่าวอชิงตันได้เสียชีวิตเพราะการรักษาในสมัยนั้น ที่รวมถึง การใช้ยาที่เป็นสารปรอท (calomel หรือ Mercury chloride) และการเจาะเลือดออกจากร่าง (bloodletting) อันเป็นวิธีการรักษาพยาบาลที่ได้รับความนิยมของแพย์ในยุคนั้น ซึ่งมีการเจาะออกถึง 5 ไพน์ (Pints) ซึ่งอาจทำให้เขาช๊อค หรือเป็นลม (asphyxia) และร่างกายขาดน้ำ (dehydration) หลังเสียชีวิตมาร์ธา ภรรยาของเขาได้เผาจดหมายการติดต่อระหว่างเธอกับจอร์จ วอชิงตัน โดยมีเก็บไว้เพียง 3 ฉบับ

หลังจากเขาเสียชีวิต กองทัพเรืออังกฤษได้ลดลงครึ่งเสา เพื่อเป็นการไว้อาลัย กองทัพบกอเมริกันใส่ปลอกแขนสีดำเป็นเวลา 6 เดือน และ Napoleon แห่งฝรั่งเศสได้สั่งแสดงการไว้ทุกข์ 10 วันทั่วฝรั่งเศส
ในช่วงฉลองครบรอบ 200 ปีของประเทศสหรัฐ George Washington ได้รับแต่งตั้งเป็นเกียรติยศให้เป็นระดับนายพลเอก (General) ของกองทัพบกสหรัฐ โดยสภาฯได้ร่วมมติที่ 
Public Law 94-479 ในวันี่ 19 มกราคม ค.ศ. 1976 และเป็นคำสั่งออกมาจากกองทัพบกเลขที่ 31-3 วันที่ 13 มีนาคม ค.ศ. 1978 โดยมีผลแต่งตั้งอย่างเป็นทางการย้อนหลังในวันที่ 4 กรกฎาคม ค.ศ. 1976 อันเป็นวันชาติสหรัฐ เพื่อให้วอชิงตันได้เป็นตำแหน่งสูงสุดทางการทหารในประวัติศาสตร์สหรัฐ ที่เหนือกว่าในพลเอก John J. Pershing ที่ได้รับแต่งตั้งให้เป็น General of the Armies เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 1 ยุติลง (World War I)เรื่องของการมีทาสWashington and slavery

จอร็จ วอชิงตันมีหม้อต้มเหล้าขนาดเล็กที่บ้านของเขา

George Washington ปลูกพืชที่เรียกว่า hemp ในไร่ของเขา

ตลอดชีวิตของเขา วอชิงตันได้ดำเนินการในไร่ของเขาเหมือนกับในเวอรจิเนียทั่วไป คือการยังเป็นเจ้าของทาส ในช่วง 1760s เขาได้เลิกการปลูกยาสูบ ซึ่งดูดีแต่ไม่มีผลกำไร และเปลี่ยนมาสู่ป่านปอ (hemp) และข้าวสาลี (wheat) และได้ปรับธุรกิจของเขาสู่การทำโรงทำแป้ง การทอผ้า และการต้มเหล้า ก่อนที่เขาจะเสียชีวิต เขามีทาสในครอบครอง 317 คนที่บ้านไร่ของเขาที่ Mount Vernon
ในช่วงก่อนสงครามประกาศอิสรภาพ เขาไม่ได้แสดงทัศนะทางจริยธรรมใดๆเกี่ยวกับการมีทาส แต่ในค.ศ. 1778 เขาได้หยุดการซื้อขายทาส หากไม่ได้รับความเห็นชอบจากทาสเหล่านั้น แต่ขณะเดียวกันก็ไม่ได้เลิกการมีทาส เพราะทาสของเขาและทาสของมาร์ธาได้แต่งงานกัน และมีลูกหลาน ซึ่งเขาไม่ต้องการทำให้ครอบครัวทาสเหล่านั้นต้องแตกแยกกัน

วอชิงตันเป็นเจ้าของทาสรายเดียวในกลุ่ม “บิดาผู้ก่อตั้งประเทศ” (Founding Father) ที่ประสบความสำเร็จในการเลิกทาส เขาไม่ได้เลิกทาสในขณะที่เขามีชีวิตอยู่ แต่ได้บันทึกไว้ในพินัยกรรม ที่จะปลดปล่อยทาสของเขา เมื่อภรรยาของเขาถึงแก่กรรม ที่บ้านของเขา ไม่ใช่ทาสทุกคนเป็นของเขา มาร์ธา ภรรยาของเขาเป็นเจ้าของทาสจำนวนมาก และเขาไม่คิดว่าจะทำการปลดปล่อยทาสที่มีอยู่ได้ แต่การกระทำของเขาได้รับอิทธิพลจาก the Marquis de La Fayette จะปลดปล่อยทาสที่เธอเป็นเจ้าของในช่วงชีวิตของเธอ วอชิงตันไม่เคยพูดต่อต้านการมีทาสในที่สาธารณะ ซึ่งนักประวัติศาสตร์ดัง Dorothy Twohig ได้แสดงทัศนะไว้ว่า ในช่วงดังกล่าว การนำประเด็นการมีทาสสู่การเมือง จะทำให้เกิดการแตกแยกกันในประเทศสาธารณรัฐใหม่ที่มีความเปราะบางอยู่แล้ว

ชีวิตส่วนตัวPersonal life

ในปี ค.ศ. 1796 Gilbert Stuart ได้เป็นศิลปินวาดภาพที่มีชื่อเสียงนี้ แต่เป็นภาพที่วาดไม่เสร็จ แต่ได้มีคนนำภาพนี้ไปเผยแพร่ต่อ ดังในธนบัตรมูลค่า 1 เหรียญดอลลาร์
.
อนุสาวรีย์ George Washington กับตราของตระกูลบรรพบุรุษของเขา Nicolas Martiau, ที่เกิดใน Île de Ré ประเทศฝรั่งเศส


จากประวัติส่วนตัวของมาร์ธา ได้บันทึกว่า วอชิงตันมีความใกล้ชิดกับหลานของเขา ชื่อ 
Bushrod Washington อันเป็นบุตรชายของน้องชายของเขา และต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยผู้พิพากษาสูงสุด
เมื่อยังอยู่ในวัยหนุ่ม วอชิงตันมีผมสีแดง มีคนเชื่อว่าเขาใส่วิก ซึ่งเป็นแฟชั่นของยุคสมัย แต่วอชิงตันไม่ได้ใส่วิก แต่เขาใส่แป้งที่ผมของเขา ดังที่ได้ปรากฎในภาพวาดหลายๆภาพ รวมถึงภาพวาดที่มีชื่อเสียงที่


ยังวาดไม่เสร็จโดย Gilbert Stuart


วอชิงตันเป็นคนรูปร่างสูงอย่างเห็นได้ชัด เขาสูง 6 ฟุต 2 นิ้ว หรือ 188 เซนติเมตร ไหล่แคบ อาจมีลักษณะลำตัวส่วนบนกลมหนา สะโพกกว้าง

วอชิงตันมีปัญหาเรื่องฟันของเขา ทำให้เขาต้องใส่ฟันปลอม เขาเสียฟันซี่แรกตั้งแต่อายุ 22 ปี และเมื่อเขาดำรงตำแหน่งเป็นประธานาธิบดี เขาเหลือฟันจริงเพียงซี่เดียว ตามจดหมายเหตุบอกเล่าโดย John Adams วอชิงตันเสียฟันไปจากการขบผลไม้เปลือกแข็งที่เรียกว่า Brazil nuts แต่นักประวัติศาสตร์ยุคใหม่ให้เหตุผลว่า เขาอาจเสียฟันไปด้วยการรักษาโรคในยุคนั้นที่ใช้ยาที่เข้าสารปรอท (mercury oxide) ในการรักษาโรคฝีดาษ (smallpox) และมาเลเรีย (malaria) เขามีฟันปลอมหลายชุด มี 4 ชุดที่ประดิษฐโดยหมอฟัน ชื่อ John Greenwood ที่ต่างไปจากความเชื่อ ฟันของเขาไม่ได้ทำจากไม้ แต่ทำจากงา (Ivory) ของฮิปโปและช้าง ที่มีตัวเชื่อมระหว่างฟันเป็นทอง ฟันที่ประดิษฐในยุคนั้น มีทั้งที่ทำจากฟันม้า ฟันลา การใส่ฟันทำให้วอชิงตันมีอาการปวดฟัน และทำให้เขาต้องใช้ยาระงับปวด laudanum ในขณะนั้น ที่มีส่วนของมอร์ฟีนและแอลกอฮอล์ ทำให้เวลาเขาพูดจะมีการเกร็งฝีปาก ที่ทำให้ดูไม่เป็นธรรมชาตินัก

วันจันทร์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2558

how much etc เรียนภาษาอังกฤษ พื้นฐาน


ฝึกผสมคำสะกดภาษาอังกฤษง่ายๆ ฉบับเบื้องต้น กันเถอะ








A BIT ENG [Ep.15] ของโปรดของฉัน


ฝรั่งเรียนไทยตอนที่ ๓ ณ เกาะช้าง


วันพฤหัสบดีที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2558

สาบานตน และทำพาสปอร์ตอเมริกัน

ตามคำสัญญาค่ะ หลังจากที่เคยแชร์เรื่องราวการทำเรื่องสอบสัญชาติไปแล้ว วันนี้แอดมินขอเอาเรื่องการเข้าสาบานตนและการขอพาสปอร์ตอเมริกันครั้งแรกมาแชร์นะคะ แล้วจะเก็บข้อมูลนี้เข้าไว้ในแฟ้มอัลบั้ม General หรือข้อมูลทั่วไปด้วยค่ะ


สาบานตน.....และทำพาสปอร์ตอเมริกัน
เมื่อหลายวันก่อนแอดมินได้เขียนบทความเรื่องประสบการณ์การขอสัญชาติอเมริกันไปแล้วนะคะ ใครที่ยังไม่ได้อ่านบทความนั้นตามอ่านได้จากที่นี่เลยค่ะ
https://www.facebook.com/thaiusvisa/photos/a.289598134584478.1073741830.289542031256755/318524698358488/?type=3
วันนี้แอดมินจะมาเขียนเพิ่มเรื่องการเข้าสาบานตนค่ะ อันนี้บอกไว้ก่อนนะคะว่าการสาบานตนจะเข้าสาบานในสถานที่แตกต่างกัน วิธีการก้ออาจจะแตกต่างกันไปนิดหน่อย ข้อมูลตรงนี้เป็นข้อมูลจริงที่แอดมินเข้าสาบานมาด้วยตัวเองก้อจะขอเขียนเฉพาะประสบการตรงของตัวเองนะคะ ส่วนใครที่แตกต่างไปจากนี้ก้อเพราะเข้าสาบานต่างสถานที่กันค่ะ ไม่มีใครผิดหรือถูกนะคะ
ก่อนออกจากบ้านแนะนำให้ทานข้าวไปให้อิ่มก่อนเลยนะคะ เพราะเราต้องรอนานพอสมควร เช่นกรณีน้องไปตั้งแต่7.30น. เสร็จตอน 12.30น. พอดีเป๊ะๆ สาบานไปท้องร้องคร๊อกๆไป คนข้างๆกันบ่นหิวกันถ้วนหน้า
เอาล่ะค่ะมาเข้าเรื่องกันดีกว่า...........
หลังจากที่แอดมินได้รับจดหมายนัดสัมภาษณ์เมื่อช่วงกลางเดือนธันวาคมปีค.ศ.2014 ว่าเราได้วันสาบานตนเป็นวันที่30ธันวาคมค.ศ.2014 แอดมินก้อรู้ตัวแล้วว่าไปร่วมงานสาบานครั้งนี้ไม่ได้แน่ๆ เพราะช่วงนั้นเป็นช่วงฉลองคริสต์มาสและปีใหม่ของญาติๆสามีที่อยู่อีกรัฐนึง แอดมินก้อเลยส่งจดหมายตอบกลับไปหา USCIS ตามข้อมูลที่ระบุมาในใบนัดว่าเราไม่สสามารถไปร่วมงานครั้งนี้ได้ ขอให้ทาง USCIS จัดตารางสาบานตนครั้งใหม่ให้เราด้วย
วันที่3กลับมาจากต่างรัฐ แอดมินก้อได้รับใบนัดสาบานฉบับใหม่เป็นวันที่15มกราคมค.ศ.2015ซึ่งก้อคือเมื่อวานนี้เอง เป็นสถานที่เดิมเวลาเดิมคือ8.30am
บอกตามตรงนะคะว่าตื่นเต้นพอสมควร แอดมินตั้งปลุกไว้ที่6โมงเช้า(บ้านไกลจากสถานที่จัดพิธี30นาที) อาบน้ำสระผมแต่งตัวเสร็จก้อ7.30น.พอดิบพอดี โดนสามีที่เตรียมตัวเสร็จก่อนตั้งนานแล้วเร่งยิกๆเพราะเฮียกลัวรถติดแล้วเราจะไปไม่ทัน เร่งมากเราก้อรีบโดดขึ้นรถกดเนวิเกเตอร์แล้วบอกโชเฟอร์ว่าซิ่งเลยลูกพี่.....สมใจเฮียขาซิ่งเลยทีนี้
ไปถึงสถานที่8.09น. เดินเข้าไปต้องผ่านกระบวนการฝากเครื่องมือสื่อสารทุกชนิด ผ่านระบบรักษาความปลอดภัย เหมือนเวลาเราผ่านระบบซีเคียวริตี้ของสนามบินน่ะค่ะ และเพราะที่นี่เป็นที่ว่าการศาลของ Federal ทำให้ไม่สามารถพกอุปกรณ์สื่อสารทุกชนิด ไม่สามารถพกกล้องถ่ายรูปเข้าไปได้ ทำให้เราอดถ่ายรูปข้างในเลย ต้องรอจนเสร็จพิธีถึงออกมาถ่ายรูปกับกำแพงตึกได้....5555
พอผ่านระบบรักษาความปลอดภัยมาแล้ว ก้อเข้าไปในห้องที่จะจัดพิธีสาบานตนค่ะ เข้าไปด้านในจะมีเจ้าหน้าที่ตรวจเช็คเอกสารนะคะ เราก้อยื่นเอกสารให้เจ้าหน้าที่ดูซึ่งจะมีตามนี้
1. จดหมายนัด (ทำการกรอกข้อมูลด้านหลังและเซ็นต์ชื่อให้เรียบร้อยค่ะ)
2. กรีนการ์ด
3. เอกสาร Permit ต่างๆที่เราเคยขอไว้
4. เอกสารเกี่ยวกับอิมมิเกรชั่นต่างๆที่เราเคยทำไว้
เอกสารที่ต้องเตรียมมานี้จะมีระบุอยู่ในจดหมายนัดด้านล่างของจดหมายนะคะ กรีนการ์ดและเอกสารต่างๆที่เราเตรียมไปเจ้าหน้าที่จะเรียกเก็บไม่คืนให้เรานะคะ เพราะหลังจากนี้เราไม่จำเป็นต้องใช้แล้วค่ะ
จากนั้นเราก้อไปนั่งรอค่ะ วันนี้มีคนมาจาก44ประเทศจำนวน156คนทั้งหมด คนที่มาเพื่อสาบานตนจะถูกจัดให้นั่งตามที่นั่งชั้นใน ในห้องพิจารณาคดี และญาติๆที่ตามมาด้วยก้อจะถูกจัดให้นั่งตามที่นั่งชั้นนอกในห้องเดียวกัน จากนั้นเราก้อจะถูกเรียกให้เอากรีนการ์ดไปคืนทีละแถวเก้าอี้ค่ะ หลังจากคืนกรีนการ์ดแล้ว เจ้าหน้าที่จะให้เราดูใบสัญชาติของเราว่าข้อมูลในนั้นถูกต้องครบถ้วนหรือไม่ และให้เราทำการเซ็นต์ชื่อลงไป จากนั้นก้อมานั่งรอผู้พิภากษาออกมาทำพิธีค่ะ
ตามที่นั่งของเราจะมีซองเอกสารที่ทางเจ้าหน้าที่วางเอาไว้ให้คนละซองค่ะ ในนั้นก้อจะมีเอกสารข้อมูลที่จำเป็นสำหรับอเมริกันมือใหม่(คู่มือ)ให้เราอ่านด้วย พร้อมใบสาบานตนแผ่นเล็กๆที่เราเอาไว้อ่านตอนผู้พิภากษาพาสาบานค่ะ พอเช็คอินครบคนแล้วเจ้าหน้าที่จะขานชื่อคนที่ไม่มาอีกรอบเพื่อเช็คให้แน่นอนนะคะว่ามาหรือไม่มาจริงมั้ย ก่อนที่จะเริ่มพิธีค่ะ
......แหล่ะแล้วเวลาที่ทุกคนรอคอยก้อมาถึงแล้วค่า.....ผู้พิภากษามาเคาะประตูบอกว่าพร้อมแล้ว พอท่านเดินออกมาทุกคนในห้องต้องยืนขึ้นจนกว่าจะมีคนบอกให้นั่งได้ จากนั้นท่านก้อกล่าวแสดงความยินดีกับทุกคน และมีพูดถึงประวัติศาสตร์อิมมิเกรนท์นิดหน่อยพอเป็นพิธี จากนั้นก้อพากล่าวสาบานตนค่ะ
ทุกคนต้องยืนขึ้น และยกมือขวาตั้งขึ้นเสมอศรีษะ และกล่าวตามที่ท่านผู้พิภากษาพากล่าวจนจบค่ะ วันนี้ดีมากๆที่พวกเราไม่ต้องร้องเพลงเพราะไม่ได้ซ้อมไว้เลย เพราะมีสมาชิกคนนึงอาสาเป่าฟลุ๊ต ขอบอกว่าฝีมือระดับปรมาจารย์เลยเพราะมากๆ ทุกคนปรบมือกันเกรียวไม่ยอมหยุดเลยค่ะ
จากนั้นท่านก้อพูดคุยเล่นสักพักก่อนที่จะเดินเข้าด้านใน ต่อจากนี้ก้อเป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ด้านนอกที่จะเรียกชื่อเราเข้าไปรับใบสัญชาติและใบเปลี่ยนชื่อสำหรับคนที่ทำการเปลี่ยนชื่อตามใบสมัคร N-400 เพื่อเอาไปยืนยันในตอนขอพาสปอร์ตและเก็บไว้เป็นหลักฐานในอนาคตนะคะ จากนั้นเราก้อแยกย้ายกันกลับบ้านใครบ้านมันค่ะ
จากนี้มาเข้าสู่ขั้นตอนการทำพาสปอร์ตนะคะ ในบางสถานที่จะมีเจ้าหน้าที่มารับทำพาสปอร์ตให้ด้วยค่ะ ที่ศาลแห่งนี้ก้อเช่นกันค่ะ ในศาลจะมีที่ทำการไปรษณีย์ของ USPS เปิดอยู่และให้บริการทำพาสปอร์ตค่ะ สิ่งที่เราต้องเตรียมไปก่อนจะออกจากบ้านไปสาบานตนมีดังนี้นะคะ
1. ใบสมัครที่กรอกแล้วเรียบร้อย ไปขอได้จากที่ทำการไปรษณีย์ไกล้บ้าน หรือปรินท์เอาจากออนไลน์ได้ค่ะ ส่วนตัวน้องกรอกออนไลน์จากเว็บของ USCIS เลยค่ะง่ายดี พิมพ์เสร็จก้อปรินท์ออกมาเก็บไว้เลยไม่ต้องมาเขียนให้ยาก
เข้ากรอกข้อมูลทางออนไลน์ได้จากในนี้เลยค่ะ กรอกเสร็จก้อสั่งปรินท์ออกมา(เซฟใส่เครื่องไว้ได้เลย) ห้ามเซ็นต์ชื่อนะคะ เราต้องไปเซ็นต์ต่อหน้าเจ้าหน้าที่ค่ะ
http://travel.state.gov/…/pass…/english/passports/apply.html
2. ใบสัญชาติ ทางเจ้าหน้าที่จะถ่ายเอกสารให้เราเก็บไว้1ใบและจะเอาใบจริงส่งไปทำพาสปอร์ตค่ะ เราจะได้รับคืนตอนที่พาสปอร์ตส่งมาให้เรา เท่าที่จำได้ตอนทำของลูกๆ เค้าจะส่งเอกสารและพาสปอร์ตแยกกันมานะคะ อย่าตกใจถ้าได้รับซองพาสปอร์ตแล้วไม่ได้รับใบสัญชาติคืนค่ะ ให้รออีกสักอาทิตย์นึงค่อยเริ่มกังวลค่ะ
3. รูปถ่าย 2x2นิ้ว 1รูป วิธีถ่ายรูปด้วยตนเองดูได้จากที่นี่ค่ะ
https://www.facebook.com/thaiusvisa/photos/a.289598134584478.1073741830.289542031256755/318730431671248/?type=1&relevant_count=1
4. ใบขับขี่ของรัฐที่เราอยู่ หรือ ID หรือ พาสปอร์ตของไทยเรา ทั้งนี้ทั้งนั้น ชื่อและนามสกุลในเอกสารจากข้อนี้ต้องตรงกับใบสัญชาติเราทุกประการนะคะ หากไม่ตรงต้องเตรียมใบเปลี่ยนชื่อที่ออกให้โดยศาลในอเมริกา หรือใบเปลี่ยนชื่อที่ทางเจ้าหน้าที่ยื่นให้ในตอนทำพิธีสาบานตนมายืนยันค่ะว่าเราได้มีการเปลี่ยนชื่อ
5. ค่าธรรมเนียม ดูได้จากเว็บในข้อที่1นะคะ จะมีให้เลือกแบบ 28หน้า 52หน้า หรือทำแบบธรรมดารอ4-6สับปดาห์(โดยมากแต่3สัปดาห์ก้อได้แล้ว) หรือแบบด่วน(1-2สัปดาห์) จะทำแค่ Passport Book(เล่มพาสปอร์ตที่เราใช้กันทั่วโลกค่ะ) หรือ Passport Card(ใช้ได้แค่ในอเมริกาและboarderค่ะ ใช้international ไม่ได้) ราคาจะแตกต่างกันไป
จ่ายเงินแล้วก้อกลับบ้านมานั่งรอพาสปอร์ดและใบสัญชาติส่งกลับมาให้ที่บ้านค่ะ ส่วนใครรีบใช้ หรือจะเดินทางภายในวันสองวัน สามารถไปติดต่อทำได้โดยตรงที่ Passport Agencies เข้าดูรายละเอียดได้ตามนี้ค่ะ ว่ามีอยู่ที่ไหนบ้าง (ขอบคุณน้องผึ้ง Phiyada Bee นะคะที่มาแชร์ข้อมูลให้พี่ทราบ)
Passport Agencies จะสามารถออกพาสปอร์ตให้เราภายในวันนั้นเลยค่ะ แต่เราต้องทำนัดก่อนล่วงหน้านะคะ โดยเราต้องจ่ายเงินเพิ่มเป็นค่าเร่งค่ะ เอกสารที่ต้องเตรียมไปเพิ่มคือตั๋วเครื่องบินที่สามารถยืนยันว่าเรากำลังจะเดินทางด่วนค่ะ
ส่วนใครที่มีบุตรที่อายุยังไม่ถึง18ปี ยังไม่ได้สัญชาติอเมริกัน และมีกรีนการ์ดอยู่แล้ว อยู่กับคุณในตอนนี้ สามารถยื่นเรื่องทำพาสปอร์ตให้ลูกพร้อมตนเองได้เลยค่ะ เพราะลูกจะได้สัญชาติตามบิดา/มารดาโดนอัตโนมัติค่ะ ฟอร์มขอพาสปอร์ตต้องกรอกแยกของใครของมันนะคะ เอกสารของลูกที่ต้องเตรียมไปเพิ่มคือใบเกิด และกรีนการ์ดค่ะ พ่อแม่ต้องเซ็นต์คู่กันทั้ง2คนในฟอร์มขอพาสปอร์ตของลูก หากขาดคนใดคนหนึ่งต้องมีเอกสารเพิ่มดังนี้ค่ะ
1. หมายศาลที่ระบุว่าเราได้สิทธิ์ในตัวลูกแต่เพียงผู้เดียว หรือใบปกครองบุตรที่ได้มาจากเมืองไทยแปลและรับรองมาแล้วเรียบร้อย
2. พ่อหรือแม่ที่ไม่สามารถปรากฎตัวได้ต้องทำหนังสือยินยอมหรือ statement of consent ที่ต้องได้รับการ notary จากเจ้าหน้าที่ notary public พร้อมหลักฐานส่วนตัวคือ ใบขับขี่ พาสปอร์ต เอกสารเหล่านี้ต้องทำ Noraty ทั้งหมดนะคะ