วันศุกร์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2559

โครงสร้างประโยคทั้ง 11 โครงสร้างของ verb to be

โครงสร้างประโยคทั้ง 11 โครงสร้างของ verb to be
1. S + be + adverb
เราสามารถใช้ verb to be กับคำวิเศษณ์ (adverb) ได้ดังต่อไปนี้
–The kids are outside.
ลูกๆอยู่ข้างนอกกัน
–I’ll be there in ten minutes.
ฉันจะออกไปที่นั่นในอีก 10 นาที
–Where are my glasses?
แว่นตาของฉันอยู่ที่ไหน?
–The game was over.
การแข่งขันได้จบลงแล้ว
–The power is out. 
ไฟฟ้าดับ
–TV is still on. 
โทรทัศน์ยังคงเปิดอยู่
–All prices are up. 
ราคาสินค้าทั้งหมดสูงขึ้น
–You walk a lonely road. Oh! How far you are from home. 
เธอเดินบนเส้นทางสายเปลี่ยว โอ้...เธอช่างมาไกลจากบ้านเสียเหลือเกิน
2. S + be + adjective
เราสามารถใช้ verb to be กับคำคุณศัพท์ (adjective) ได้ดังต่อไปนี้
–I’m done.
ผมทำเสร็จแล้ว/ใช้เสร็จแล้ว
–I’m frightened.
ดิฉันกลัว
–My hair is dry.
ผมของฉันแห้งกรอบ
–She was born pretty.
เจ้าหล่อนเกิดมาสวย
–The baby is sound asleep.
ทารกกำลังหลับอยู่
–Maybe the network is down.
บางทีเครือข่ายอาจจะล่มก็ได้
–I’m so sorry. I didn’t mean to annoy you.
ผมขอโทษ ผมมิได้มีเจตนาจะทำให้คุณรำคาญ
–The battery is flat.
ถ่านก้อนนี้ไม่มีไฟแล้ว
–I have been a little busy.
ฉันกำลังยุ่งอยู่ค่ะ
–My class/working day was over.
ชั่วโมงเรียน/วันทำงานของฉันได้เลิกลงแล้ว
–I am broke.
ฉันถังแตก
–Our rent will be due tomorrow.
ค่าเช่าของเราจะถึงกำหนดต้องจ่ายวันพรุ่งนี้
–Are you afraid of the dark?
เธอกลัวความมืดไหม?
–He is good, but not that good.
เขาเก่ง แต่ไม่ได้เก่งมากมายอย่างที่เขาพยายามจะแสดงให้เราเห็นหรอก
–I’m sleepy. I’m going to go to bed.
ฉันง่วงนอนแล้ว ฉันตั้งใจว่าจะไปนอนแล้วล่ะ
–Be quick/quiet.
เร็วหน่อย/เงียบหน่อย
–Don’t be afraid.
อย่ากลัวไปหน่อยเลย
–Don’t be so negative, be positive.
อย่ามองโลกในแง่ร้ายจนเกินไป จงมองโลกในแง่ดี
–Remember, be polite to our customers.
จำไว้...จงสุภาพต่อลูกค้าของเรา
A: Is tomorrow all right for you?
พรุ่งนี้จะสะดวกสำหรับคุณไหม?
B: Tomorrow is fine.
ตกลง...พรุ่งนี้ก็สะดวกดีนะ
A: What is so funny?
ขำอะไรรึ?
B: The news that is.
ขำเนื้อหาของข่าวนั่นล่ะ
A: What is on?
รายการอะไรน่ะ...บนหน้าจอทีวี?
B: A horror movie.
หนังสยองขวัญจ้ะ
A: Are you online?
กำลังท่องโลกอินเตอร์เน็ทอยู่รึเปล่า?
B: Yes, I am.
กำลังท่องอยู่จ๊ะ
A: Well, may you check this for me?
ดีเลย...งั้นช่วยตรวจสอบสิ่งนี้ดูให้หน่อยได้ไหม? 
3. S + be + preposition + noun/pronoun
เราสามารถใช้ verb to be กับ preposition + noun/pronoun (บุพบทวลี) ได้ดังต่อไปนี้
–Those birds were from Brazil.
นกเหล่านั้นมีถิ่นกำเนิดที่ประเทศบราซิล
–He is from an insurance company.
เขาเป็นคนของบริษัทประกันภัยแห่งหนึ่ง
–I am at the breakfast table.
ฉันทานอาหารเช้าอยู่ที่โต๊ะอาหาร
–They were on their way to the north.
พวกเขาอยู่บนเส้นทางที่มุ่งสู่ทิศเหนือ
–The deadline is on Monday.
เส้นตายคือวันจันทร์
–The sale date is from July 28th to August 5th.
วันลดราคาเริ่มจาก 28 กรกฎาคมถึง 5 สิงหาคม
–He is at work.
เขากำลังทำงานอยู่
–I am with you.
ผมอยู่กับคุณแล้ว/ผมฟังคุณอยู่
–I’m in my casual clothes.
ฉันสวมใส่เสื้อผู้ชุดลำลอง
–This month I’m on night shift.
เดือนนี้ฉันทำงานกะกลางคืน
–I’ll be off duty in 30 minutes.
ฉันจะเลิกงานในอีก 30 นาที
–Tell him I am on the other line.
บอกเขาไปว่าฉันติดสายอื่นอยู่
–Miniskirt is always in fashion.
กระโปรงสั้นมักอยู่ในสมัยนิยมเสมอ
–Who will be behind the wheel?
ใครจะเป็นคนขับรถ?
–These letters are for her.
จดหมายเหล่านั้นสำหรับเจ้าหล่อน
–This fork is for being used with the spoon like this.
ส้อมนี้สำหรับใช้กับช้อนแบบนี้
A: What are you doing?
กำลังทำอะไรอยู่น่ะ?
B: I’m being on Twitter/the internet.
ฉันกำลังเล่น Twitter/internet อยู่
4. S + be + adverbial phrase of distance
เราสามารถใช้ verb to be กับ adverbial phrase of distance (วิเศษณ์วลี
แสดงระยะทาง) ได้ดังต่อไปนี้
–The hospital is 3 blocks ahead.
โรงพยาบาลอยู่ 3 ช่วงตึกข้างหน้า
–The bank is two-bus stop away.
ธนาคารอยู่ห่างออกไป 2 ป้ายรถเมล์
–The National Park is about 5 kilometers away.
วนอุทยานแห่งชาติอยู่ห่างออกไปประมาณ 5 กิโลเมตร
–My friends are many kilometers away.
เพื่อนๆของฉันอยู่ห่างออกไปหลายกิโลเมตร
5. S + be + adverb of time/duration
เราสามารถใช้ verb to be กับ adverb of time/duration (วิเศษณ์แสดงเวลา/
ระยะเวลา) ได้ดังต่อไปนี้
–The appointment is this week.
การนัดหมายมีกำหนดสัปดาห์นี้
–The departure time was 11.00 o’clock.
กำหนดเวลาออกเดินทางคือ 11 โมงเช้า
–The second place was 6 seconds behind.
ตำแหน่งที่ 2 ตามหลังอยู่ 6 วินาที
–The TV program was yesterday evening, not this evening.
รายการโทรทัศน์ที่เธอจะดูมีเมื่อวานตอนค่ำ ไม่ใช่ค่ำนี้
6. S + be + to-infinitive ปุ่มลิ้งค์ไป facebook
เราสามารถใช้ verb to be กับ to-infinitive ในกรณีดังต่อไปนี้
6.1 ใช้ S + be + to-infinitive เพื่อแสดงถึงกำหนดการแบบ
เป็นทางการ
–The meeting is to be on Friday next week.
การประชุมมีกำหนดวันศุกร์อาทิตย์หน้า
6.2 ใช้ S + be + to-infinitive เพื่อออกคำสั่ง
–You both are to keep quiet.
เธอทั้งคู่ต้องเงียบเสียงนะ 
7. S + be + noun/pronoun
เราสามารถใช้ verb to be กับ noun/pronoun ได้ดังต่อไปนี้
–Don’t be a jaywalker.
อย่าเป็นคนไม่ข้ามถนนในทางข้าม
–This ruler is mine, not yours.
ไม้บรรทัดนี้เป็นของฉัน...ไม่ใช่ของเธอ
–I am a teacher.
ฉันมีอาชีพเป็นครู
–I am Wongkot.
ผมชื่อวงกต
–You are sixteen now.
ลูกมีอายุสิบหกปีแล้วนะ
–What is date today?
วันนี้เป็นวันที่เท่าใด?
–This clock is one thousand baht.
นาฬิกาเรือนนี้ราคาหนึ่งพันบาท
–I’m ten thousand baht in debt(เด็ท) to my sister.
ผมเป็นหนี้น้องสาวผมอยู่ 10,000 บาท
–The mobile phone is two times smaller in size.
มือถือมีขนาดเล็กลง 2 เท่า
–What (price) is this T-shirt?
เสื้อยืดตัวนี้ราคาเท่าไหร่?
–This movie is my favorite.
หนังเรื่องนี้คือเรื่องโปรดของฉัน
–The power was failure. I can’t see to read.
ไฟฟ้าดับ ฉันไม่สามารถเห็นเพื่ออ่านได้
–The sufficiency way of life is alternative of our time.
วิถีชีวิตแบบพอเพียงคือทางเลือกในยุคสมัยของเรา
A: Are you a coffee drinker?
คุณเป็นคนชอบดื่มกาแฟรึเปล่า?
B: Yes, I am.
เป็นครับ
A: You are very Thai.
คุณเป็นคนไทยขนานแท้
B: How do you know that?
คุณรู้ได้อย่างไร?
A: What is your name?
เธอชื่ออะไรน่ะ?
B: Eric. My name is Eric.
เอริค...ชื่อของฉันคือเอริค
A: Is she Miss Right?
เจ้าหล่อนเป็นคนที่ใช่รึเปล่า? smile emoticon เจ้าหล่อนใช่ผู้หญิงในฝันของเกลอรึเปล่า?)
B: No, she isn’t. She is Miss Wrong.
ไม่ใช่...เจ้าหล่อนไม่ใช่ เจ้าหล่อนเป็นคนที่ไม่ใช่สำหรับกัน
8. S + be + adjective + to-infinitive
โครงสร้างประโยค S + be + adjective นั้น ถ้าเราต้องการนำเอา to-infinitive
มาขยายความ adjective เราก็สามารถทำได้ทันที ดังต่อไปนี้
–I’m glad to see you.
ผมยินดีที่ได้พบคุณ
–Are you ready to order?
ท่านพร้อมที่จะสิ่งอาหารรึยังครับ?
–This equation is not easy to solve.
สมการนี้ไม่ง่ายที่จะแก้
–I’m pleased to inform you that you get promoted.
ผมยินดีที่จะแจ้งให้คุณทราบว่าคุณได้รับการเลื่อนขั้น
–She wasn’t afraid to do a bungee jump.
เจ้าหล่อนไม่กลัวที่จะเล่นบันจีจั๊มพ์
–We’re sorry to learn that your car was stolen.
เรารู้สึกเสียใจที่ได้ทราบข่าวว่ารถของคุณถูกขโมยไป
–He is certain to win the contest.
เขาต้องชนะการแข่งขันอย่างแน่นอน
–This TV programme is interesting to watch.
รายการโทรทัศน์รายการนี้น่าสนใจที่จะดู
–This phone is too expensive to buy.
โทรศัพท์นี้แพงเกินไปที่จะซื้อ
9. S + be + adjective + present participle (v-ing)
ตามปกติโครงสร้างประโยค S + be + adjective นั้น มักใช้ to-infinitive มา
ขยายความ adjective ดังข้อ 8 ข้างต้น ส่วนการนำเอา present participle (v-ing) มาขยายความนั้นก็สามารถทำได้ แต่ไม่ค่อยนิยมกัน
อย่างไรก็ตาม มี adjective อยู่ 2 คำที่นิยมใช้ present participle (v-ing) มา
ขยายความ นั่นคือ busy และ worth ดังประโยคตัวอย่างต่อไปนี้
–He is busy doing his homework.
เขายุ่งอยู่กับการกำลังทำการบ้าน
–This website is worth surfing.
เว็บไซต์นี่ดีพอที่จะเข้ามาเยี่ยมชม

10. S + be + that clause/question-word clause
เราสามารถใช้ verb to be กับ that clause/question-word clause ได้ดัง
ต่อไปนี้
–The trouble is that she is my boss’s daughter.
ปัญหาก็คือหล่อนเป็นลูกสาวเจ้านายของกันเอง
–He is not what you might think.
เขาไม่ใช่คนอย่างที่คุณอาจจะคิดว่าเขาเป็น
that she is my boss’s daughter และ what you might think ข้างต้น ก็
คือ that clause และ question-word clause ตามลำดับ
และ that clause และ question-word clause (wh-clause) ก็คือ noun
clause ซึ่ง noun clause ก็ทำหน้าที่เป็น ‘คำนาม’ นั่นเอง
ดังนั้น that she is my boss’s daughter และ what you might think ข้าง
ต้น จึงหน้าที่เป็น ‘คำนาม’ ด้วยเช่นกัน
อนึ่ง การทำให้ประโยคทั้งประโยคกลายเป็นเพียงคำนามคำหนึ่งโดยการเติม that
หรือ question word เข้าไปข้างหน้านี้ ถือว่าเป็นวิธีการทางภาษาที่ชาญฉลาด เพราะ
ทำให้เราสามารถนำประโยคทั้งประโยคซึ่งได้กลายเป็นคำนามไปแล้วนี้ ไปทำหน้าที่ต่างๆ
ได้อย่างสะดวก เช่น การใช้กับ verb to be ดัง 2 ประโยคตัวอย่างข้างต้น เป็นต้น
ผู้เขียนขอยกประโยคตัวอย่างอื่นๆของการใช้ that clause และ question-word
clause กับ verb to be เพิ่มเติมให้อีก เพื่อให้ท่านผู้อ่านเข้าใจการใช้นี้ได้อย่างกระจ่าง
แจ้งหมดสิ้นข้อสงสัยใดๆ ดังนี้
A: You got me wrong.
คุณเข้าใจผมผิด
B: What is that I got you wrong?
อะไรล่ะที่ฉันเข้าใจคุณผิด?
–The fact is that the rumor has already spread.
ข้อเท็จจริงก็คือข่าวลือได้แพร่กระจายออกไปแล้ว
–The problem is who will drive.
ปัญหาก็คือใครจะเป็นคนขับ
–That is why I love her.
นั่นคือสาเหตุที่ทำไมผมจึงรักเจ้าหล่อน
–The big surprise was when she won the trophy.
ความประหลาดใจเป็นอย่างมากก็คือตอนที่เจ้าหล่อนชนะได้ถ้วยรางวัล
–The question is how it happened.
คำถามก็คือมันเกิดขึ้นได้อย่างไร
–The keys are not where they are.
กุญแจไม่ได้อยู่ในที่ที่มันอยู่

11. S + be + adjective + that clause/question-word
clause
โครงสร้างประโยค S + be + adjective นั้น ถ้าเราต้องการนำเอา that clause
หรือ question-word clause มาขยายความ adjective เราก็สามารถทำได้ ดังประโยค
ตัวอย่างต่อไปนี้
–I’m so thankful that you are with me.
ดิฉันดีใจที่คุณมาอยู่กับดิฉัน
–She’s so pleased that you sent her some flowers.
เจ้าหล่อนยินดีและมีความสุขมากที่คุณส่งดอกไม้ไปให้
–Are you sure that you have locked the car door?
คุณแน่ใจนะว่าคุณล็อคประตูรถแล้ว?
–I’m not clear how this machine works.
ผมไม่ค่อยแน่ใจว่าเครื่องจักรนี้มีหลักการในการทำงานอย่างไร
–I’m not clear whether she will confirm that.
ผมไม่ค่อยแน่ใจว่าเจ้าหล่อนจะยืนยันสิ่งนั้นหรือไม่
–I’m not sure whether I will buy it or not.
ผมไม่ค่อยแน่ใจว่าผมจะซื้อมันหรือไม่

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น